วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553




โรงเรียนอนุบาลสามแสน









วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 13 วันที่ 30 กันยายน 2553

อาจารย์ให้นักศึกษานำกระดาษลังมาเพื่อให้แต่ละคนทำป้ายนิเทศ โดยนำความรู้ที่มีอยู่มาใช้และที่สำคัญใช้ความรู้จากการทำสื่อต่างๆที่ผ่านมานำมาใช้โดยให้เกิดความคิดที่สร้างสรรค์และหลากหลาย
อาจารย์ดูจาก ความปราณีต ความคิสร้างสรรค์ ความสะอาดเรียบร้อย
การจัดวาง และให้นักศึกษาปฏิบัติงานร่วกัน โดยทุกคนจะตั้งใจกันทำงานของตนเองให้สำเร็จมีการวางแผนว่าจะทำอะไร และเมื่อวางแผนเสร็จก็ลงมือปฏิบัติอย่างตั้งใจ และทุกคนก็มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันใครไม่มีอะไรก็จะหยิบยืมกัน หลังจากทำผลงานงานกันเสร็จแล้วก็ช่วยกันทำเก็บของ และทำความสะอาดภายในห้อง แต่ก็มีบางคนทำไม่เสร็จจึงเอางานไปทำกันใต้ตึกเพราะ ห้องเรียนมีนักศึกษาปีอื่นมาเรียนต่อห้องไม่ว่างเลยนำงานไปทำกันใต้ตึกเมื่อทำงานเส็จแล้ว ก็จะรวบรวมผลงานไปส่งอาจารย์







วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 12 วันที่ 23 กันยายน 2553

อาจารย์สรุป เรื่องสื่อและผลงานสื่อ อีกทั้งประโยชน์ที่ได้ทำสื่อว่า ทำให้เกิดทักษะ ประสบการณ์ สาระการเรียนรู้ และอาจารย์ตรวจดูบล็อกบอกเกณฑ์ในการทำบล็อก ว่าสิ่งใดเหมาะสมหรือไม่ในสิ่งที่จะใส่ไปในบล็อกต้องใช้วิจารญาณในการทำ และในการเขียนบล็อกต้องเขียนสภาพบรรยากาศ เนื้อสาระที่ได้ องค์ประกอบอื่นๆที่ต้องใส่ในบล็อก

สื่อ ก็มีมากมายหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ให้กับตัวเราเองและผู้อื่น ในการผลิตมาแต่ละชิ้น แต่ละชนิดก็ล้วนแต่เกิดประโยชน์ในหลายๆด้านที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ดี

หลังจากพูดถึงสื่อ การทำบล็อกแล้วอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มส่งแป้งโดว์และอุปกรณ์ที่ใช้เล่นกับแป้งโดว์ พร้อมนำเสนอผลงาน
อาจารย์แบ่งให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มจัดบอร์ดเสนองานเกี่ยวกับสื่อ
แป้งโดว์พร้อมของเล่นที่สามารถเล่นกับแป้งโดว์ได้ของกลุ่มดิฉัน




วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11 วันที่ 16 กันยานน

อาจารย์ให้นักศึกษาทำแป้งโดว์ โดยแบ่งเป็นกลุ่มแล้วให้นักศึกษานำอุปกรณ์มาแล้วลงมือปฏิบัติงานกัน แต่ละกลุ่มก็ลงมือปฏิบัติกันโดยทุกคนทำกันสนุกสนานมาก และแต่ละคนก็จะช่วยงานกันภายในกลุ่มถ้าภายในกลุ่มขาดอะไรก็หยิบยืมจากกลุ่มอื่น เมื่อปฏิบัติงานเสร็จทุกคนก็ช่วยกันเก็บของและทำความสะอาดห้องเรียน









จากการทำแป้งโดว์ทำให้เราสามารถได้นำไปใช้เล่นเแทนดินน้ำมันและเราก็สามารถทำเองได้ ทำให้เราเกิดทักษะกระบวนการคิดและการผลิตแป้งโดว์ อีกทั้งเราก็ยังสามารถผลิตของเล่นที่สามารถเล่นกับแป้งโดว์โดยกระบวนการคิด และวิธีการเล่นที่แปลกใหม่ได้

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10 วันที่ 9 กันยายน 2553

อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงานสื่อ และหลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาสอบ


ผลงานสื่อ



ทำให้เรามีกระบวนการคิด การทำข้อสอบที่เราได้อ่านมาและสิ่งที่เราได้ปฏิบัติมาทำให้สามารถทำข้อสอบได้ไม่มากก็น้อย เป็นการทบทวนเนื้อหาวิชา และทักษะที่เคยปฏิบัติมาทำให้เกิดความรู้ในการทำข้อสอบ ส่วนการทำสื่อก็สามารถทำให้เรานำไปปฏิบัติและใช้เป็นของเล่นเด็กได้ทำให้เด็กเกิดความรู้ และมีทักษะในการเล่น


วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 9 วันที่ 2 กันยายน 2553

อาจารย์ให้ศึกษาที่เรียนกลุ่มเรียน101 และกลุ่มเรีย102 มาเรียนกร่วมกันนักศึกษาเยอะเต็มห้องเรียนเลย ตอนแรกอาจารย์ให้เจอกันด้านล่างใต้ตึกเพื่อพูดเรื่องงานและตรวจดูงานเพื่อให้นักศึกษานำงานที่ตนทำเสร็จมาส่ง และอาจารย์จะดูว่านักศึกษาทำงานเสร็จกันเยอะไหม ใครที่ทำงานไม่เสร็จก็ให้นำมาส่งวันพฤหัสบดีหน้า หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาย้ายไปบนห้องเรียนเพื่อให้นักศึกษาดู สื่อเกมการศึกษาที่อาจารย์ได้นำมาเพื่อให้นักศึกษาไปทำเกมการศึกษาของตนเอง และอาจารย์บอกวิธีการเล่นเกมการศึกษาที่อาจารย์ได้นำมาเพื่อให้นักศึกษาร่วมเล่นเกมด้วย
จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเพื่อเล่นเกมการศึกษา และให้แต่ละกลุ่มมารับเกมเกมของตนเอง และลงมือเล่นเกมของตนเองกันภายในกลุ่ม เมื่อภายในกลุ่มเล่นเสร็จแล้วก็ย้ายไปเล่นของกลุ่มอื่นอีกจนครบทุกกลุ่ม

บรรยากาศการเล่นเกมภายในห้องเรียน








ทำให้เรารู้จักเกมการศึกษามากขึ้น และเราก็สามารถนำเกมการศึกษาที่เรารู้จักมาบูรณาการใหม่ได้ก็ทำให้เรามีทักษะ กระบวนการคิดที่ใหม่ๆมากขึ้น


ท้ายคาบอาจารย์ก็ตรวจงานและให้นักศึกษาแต่ละคนมาส่งงานที่โต๊ะอาจารย์โดยตรวจทีละคน
ส่วนใครไม่มีชิ้นงานไม่ครบก็มาส่งคาบหน้า ส่วนงานของดิฉันตอนแรกก้ทำมาครบแต่ชิ้นงาน pop up ก็มาหายไปแต่อาจารย์ก็ให้ทำมาใหม่เพื่อส่งคาบหน้า

ผลงานสื่อของดิฉัน














วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 8 วันที่ 19 สิงหาคม 2553

อาจารย์พูดเรื่อง การอบรมสื่อของวันที่ 7 สิงหาคม 2553และเช็ครายชื่อผู้ที่ไม่ได้เข้าอบรม จากนั้นก็ถามเหตุผลที่ไม่ได้เข้าอบรม อาจารย์ก็ตรวจดูงานของนักศึกษาที่ได้สั่งไว้ในวันอบรมสื่อและให้ส่งงาน ต่อมาอาจารย์ก็ให้งานมาเพิ่มเติมและบอกวิธีกาทำงานชนิดต่อไปอาจารย์บอกอีกว่าต่อจะทำสื่อ
ป๊อบอัพ ภาพเลื่อน ตัวสัตว์ ท้ายคาบอาจารย์ให้เงินกลับ นักศึกษาผู้ที่มาอบรมสื่อ 30 บาท


ผลงานสื่อที่ได้เข้าอบรมสื่อ












จากการอบรมสื่อทำให้เราพบว่าชนิดของสื่อมีมากมายหลายชนิด และเล่นแล้วทำให้เกิดประสบการณ์ ทักษะ กระบวนการคิ ที่หลากหลาย อีกทั้งถ้าเรานำความรู้ที่ได้จากการอบรมสื่อ ผลงานที่เราเห็นเราก็จะสามารถนำไปบูรณาการให้แปลกใหม่ ดีขึ้นกว่าเดิมมีของเล่นที่ดีและใหม่ๆ ทำให้เราใช้ประโยชน์เหล่านี้ได้ต่อไปเมื่อเราฝึกงานหรือทำงานเราก็สามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์และมีผลงานที่ดีได้




วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 7 วันที่ 29 กรกฎาคม 2553

อาจารย์เข้ามาสั่งให้นักศึกษาอ่านชีส เกมการศึกษา และอาจารย์ได้ออกไปทำธุระเมื่ออาจารย์กลับมาก็อธิบายเรื่อง เกมการศึกษาและสั่งงานให้นักศึกษาคิดทำเกมการศึกษาโดยมีตัวอย่างในชีสและเกมการศึกษาของแต่ละคนต้องไม่ให้ซ้ำกันมีรูปแบบเหมือนกันได้แต่เนื้อหาไม่ให้เหมือนกัน

เกมการศึกษาของดิฉันคือ จับคู่ภาพเหมือนรูปผลไม้
เป็นการเล่นให้รู้ว่าภาพที่เหมือนจะมีลักษณะ รูปร่างที่เหมือนกันและได้รู้ชนิดของผลไม้ว่ามีลักษณะแบบไหน สีอะไร เมื่อเจอของจริงก็ทำให้เด็กๆรู้จักว่านี้ผลไม้อะไร


ชื่อเกม จับคู่ภาพเหมือน



วัตถุประสงค์
- ฝึกการสังเกตภาพที่เหมือนกัน
- ฝึกการคิดวิเคราะห์
- การการใช้ประสาทสัมผัส
- ฝึกการสร้างความร่วมมือกับเพื่อน
- เรียนรู้รูปร่าง ขนาด ลักษณะ สีของสิ่งของที่กำหนดไว้

วัสดุ/อุปกรณ์
- รูปผลไม้
- กระดาษแข็ง
- ฟิวเจอร์บอร์ด

วิธีทำ
- ตัดรูปผลไม้ที่หามาให้ครบจำนวน
- ติดรูปผลไม้ในกระดาษแข็ง
- ทำบล็อกด้วยฟิวเจอร์บอร์ดเพื่อนำรูปไปติดมาเล่นเกมนี้

วิธีการเล่น
- ต้องทำให้รูปสลับสับเปลี่ยนที่กัน
- ให้เด็กหารูปที่เหมือนกันมาเข้าคู่ด้วยกัน
- เมือเด็กทำเสร็จก็ตรวจว่าถูกต้องหรือไม่
- เมื่อถูกก็ให้คะแนน















วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 6 วันที่ 22 กรกฎาคม 2553

อาจารย์ให้หาความหมายเกมการศึกษาและหาตัวอย่างของเกมการศึกษามาโพสต์ในblogของตัวเอง

=>เกมการศึกษา หมายถึง กิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดกับสิ่งที่เรียน

=>ตัวอย่างเกมการศึกษา





สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย
ความสำคัญ
- ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
- ได้รับประสบการณ์ตรงจำได้นาน
- รวดเร็ว, เพลิดเพลิน,เข้าใจง่าย
ลักษณะของสื่อที่ดี
- ต้องมีความปลอดภัย
- ประโยชน์ที่เด็กได้รับเหมาะสมกับความสามารถของเด็ก ความสนใจ
- ประหยัด
- ประสิทธิภาพ
หลักการเลือกซื้อ
- คุณภาพดี
- เด็กเข้าใจง่าย
- เลือกให้เหมาะกับสภาพของศูนย์
- เหมาะสมกับวัย
- เหมาะสมกับเวลาที่ใช้
- เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
- ถูกต้องตามเนื้อหา ทันสมัย
- เด็กได้คิดเป็นทำเป็น กล้าแสดงออก
การประเมินการใช้สื่อ
(พิจารณาจากครูผู้ใช้สื่อ เด็กและสื่อ )
- สื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้เพียงใด
- เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด


วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5 วันที่ 15 กรกฎาคม 2553

อาจารย์ให้ความหมายของสื่อและนำเสนอผลงานสื่อของตนเองที่นำมา

ชื่อสื่อ บล็อกตัวต่อ




วิธีการนำเสนอสื่อ


บล็อกตัวต่อ ขนิดนี้เหมาะสำหรับเด็กอายุประมาณ 2-6 ขวบ เป็นการพัฒนาประสาทสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็กกับตาทำให้เด็กคิดรูปแบบการสร้างบล็อกได้อย่างอิสระ และเกิดจินตนาการของตัวเขาเอง ฝึกการใช้สมาธิ มีจิตใจที่สงบ อีกทั้งฝึกการแก้ปัญหาว่าต้องทำอย่างไรให้ตัวต่อลงล็อกได้พอดี เป็นประสบการณ์โดยตรงที่เด็กได้ลงมือกระทำเพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำของจริง เพื่อเป็นประสบการณ์ที่ได้รับความเพลิดเพลินและเกิดการพัฒนาสมอง








































วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4 วันที่ 8 กรกฎาคม 2553

อาจารย์ให้นักศึกษาใส่urlลิงค์บล็อกเข้ากับอาจารย์และพูดถึงกิจกรรมปี2ของปีที่แล้วว่าทำกิจกรรมอะไรบ้างมีกจกรรมดังนี้ ปฐมนิเทศ รับน้อง บายสีสาขา เข้าค่ายคุณธรรม ไหว้ครู ดาวเดือน กีฬาเทาเหลือง ลอยกระทง จากนั้นเริ่มสู่เนื้อหา

การแบ่งประเภทของสื่อ
- ตามระดับประสบการณ์ประสบการณ์การเรียนรู้ของผ.รที่ได้รับจากสื่อ
- ตามลักษณะของสื่อและวิธีการใช้งาน

ตามแนวคิดของเอ็ดการ์ เดล (Edgar Dals)
กรวยประสบการณ์ 11 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. ประสบการณ์ตรง โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง และการเห็น เป็นต้น

2. ประสบการณ์รอง เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งทีใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้

3. ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เนื่องจากข้อจำกัดด้วยยุคสมัยเวลา และสถานที่ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม เป็นต้น

4. การสาธิต เป็นการแสดงหรือการทำเพื่อประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น

5. การศึกษานอกสถานที่ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่ การสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ เป็นต้น

6. นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้สาระประโยชน์แก่ผู้ชม โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างผสมผสานกันมากที่สุด

7. โทรทัศน์ โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน

8. ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู

9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง อาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์ ข้อมูลที่อยู่ในขั้นนี้จะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนที่ถึงแม้จะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้

10. ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่าง ๆ

11. วจนสัญลักษณ์ ได้แก่ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูด
การใช้กรวยประสบการณ์ของเดลจะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอยู่ในเหตการณ์หรือการกระทำจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตุในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้นต่อไปของการได้รับประสบ-การณ์รอง ต่อจากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ด้วยการรับประสบการณ์โดยผ่านสื่อต่างๆ และท้ายที่สุดเป็นการให้ผู้เรียนเรียนจากสัญลักษณ์ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น






ตามแนวคิดของบรูเนอร์ (Jerome S.Bruner)
- กลุ่มการกระทำ (Enactive)
- กลุ่มภาพ (Iconic)
- กลุ่มนามธรรม (Abstrace)

แนวคิดของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา
- สื่อการสอนประเภทวัสดุ (Software or Material)
- สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ (Hardware
- สื่อการสอนประเภทเทคนิค (Techniques and Methods)



สรุป หลักในการเลือกสื่อการสอน
1. เลือกซื้อสื่อที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์กาเรียนรู้
2. เลือกสื่อการสอนที่ตรงกับลักษณะของเนื้อหา ของบทเรียน
3. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
4. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับจำนวนของผู้เรียน และกิจกรรมการเรียนการสอน
5. เลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
6. เลือกสื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความสนใจ
7. เลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งาน เก็บรักษาและบำรุงรักษาได้สะด
วก


วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3 วันที่ 1 กรกฎาคม 2553

อาจารย์ตรวจดูblog และคอมเม้นต์การทำblogของนักศึกษาแต่ละคน อีกทั้งบอกประโยชนย์ของบอกว่าการทำblog เป็นแฟ้มสะสมงานที่สามารถที่ไว้ได้นานและไม่สูญหายเป็นสื่อตัวหนึ่งที่สามารถใช้เทคโนโลยีได้ การทำblogนำมาบูรณาการใช้ในวิชาสื่อเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย และอาจารย์ก็นำเข้าสู่เนื้อหาวิชา ดั้งนี้
สื่อการสอน
สื่อเป็นตัวกลางในรูปแบบต่าง
สื่อการเรียนการสอน
(กิริยา) หมายถึง ทำการติดต่อให้ถึงกันชักนำให้รู้จักกัน
(นาม) ผู้หรือสิ่งที่ทำการติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน
สื่อการศึกษา
(นาม) วิธีการ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เป็นสื่อในการศึกษา
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆที่อาจป็นวัสดุ เครื่องมือ หรือกิจกรรมที่ครูเลือกมาและวางแผนใช้รวมเข้าไปในเนื้อหาของหลักสูตรวิชาต่างๆ อย่างเหมาะสมกับความต้องการ ระดับชั้น สติปัญญาและความสามารถของนักเรียนเพื่อกระบวนการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ชม ภูมิภาค (2545:5)
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆที่เป็นส่วนของเทคโนโลยีการศึกษาเป็นพาหะที่จะนำสารหรือความรู้ไปยังผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์เป็นสื่อการสอน เพราะวิดีทัศน์เป็นตัวนำสารไปให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา เช่น วัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆที่ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกัน
คุณค่าสื่อการเรียนการสอน
สื่อกับผู้เรียน
- ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้เร็วขึ้น
- ช่วยให้สนใจบทเรียนและใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ได้
- ทำให้เข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อน ได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้นและเกิดความคิดรวบยอดในเรืองนั้นได้ถูกต้อง
- ให้ประสบการณ์รูปธรรมแก่ผูเรียนและเกิดความประทับใจ จดจำได้นาน
- ช่วยในการศึกษาค้นคว้าหาควารู้ สามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับสิ่งใหม่ได้ต่อเนื่องกัน
- ส่งเสริมการคิด การแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์
- ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น
- ผู้เรียนจะมีความเข้าใจในเนื้อหาได้ตรงกัน
- ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน
- ช่วยลดการบรรยายของครูผู้สอน
- ผู้สอนมีความตื่นตัวในการผลิตสื่อต่างๆให้น่าสนใจยิ่งขึ้น
หลักการเลือกสื่อการสอน
1. สื่อต้องสัมพันธ์กับมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
มาตรฐาน คือ เกณฑ์ที่ได้วางไว้
2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ
3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ผู้เรียน
4. สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากเกินไป
5. ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและจริง
6. มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน
ขั้นตอนในการใช้สื่อ
1. ชั้นนำเข้าสู่บทเรียน เช่น เพลง รูปภาพ การใช้คำถาม นิทาน เกมส์ ปริศนาคำทาย คำคล้องจอง
2. ขั้นดำเนินการสอน หรือ ประกอบกิจกรรมการเรียน
3. ขั้นวิเคราะและปฏิบัติ
4. ขั้นสรุปบทเรียน
5. ขั้นประเมินผู้เรียน
หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน
1. เตรียมตัวผู้สอน
2. เตียมจัดสภาพแวดล้อม
3. เตรียมพร้อมผู้เรียน
4. การใช้สื่อ
5. ติดตามผล
หลักการใช้สื่อการเรียนและการวางแผนใช้สื่อการการสอน
การดัดแปลงหรือออกแบบสื่อ (Select,Modify,or design Mate)
- เลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว
การใช้สื่อ (Utilize Materials)
- ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อเหล่านั้นก่อนเป็นการเตรียมตัว
- จัดเตรียมสถานที่ ที่นั่งเรียน อุปกรณ์ เครื่องมือและสิ่งต่างๆ
- เตรียมตัวผู้เรียน โดยการใช้สื่อนำเข้าสู่บทเรียน
- ควบคุมชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนใจในสื่อที่นำเสนอนั้น
การเลือกสื่อการเรียนรู้
- สื่อต้องเหมาะสมกับวัยผู้เรียน
- สื่อสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาที่สอน
-ความเป็นไปได้ในการหาและค่าใช้จ่าย
-ความสะดวกในการนำไปใช้





วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2 วันที่ 24 มิถุนายน 2553
อาจารย์ได้ทบทวนเรื่องการแต่งกายให้ส่งประวัติของตนเอง และการทำ blog อาจารย์ยังถามนักศึกษาว่าให้ทำ blogเ พื่ออะไรให้นักศึกษาแต่ละคนตอบ อาจารย์บอกว่าการทำ blog จะเป็นสื่อที่ทำให้เกิดการเรียนรู้อีกทั้งได้ใช้สื่อเทคโนโลยี แต่ถ้าคนไหนทำไม่เป็นก็สามารถถามเพื่อนและอาจารย์ได้เราก็จะทำเป็นและใช้ความสามารถพยายามของตนเอง เพราะอาจารย์บอกว่าไม่มีใครสามารถทำได้มาแต่เกิดเราต้องใช้ความพยายามของตนเอง

- สื่อ เป็นตัวกลางข้อมูลข่าวสาร เนื้อหาทั้งหมดไปสู่ผู้เรียนซึ่งมีความสำคัญมาก
หลังจากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 คน มีกลุ่มหนึ่งที่มี6คนซึ่งเป็นกล่มดิฉันเองและอาจารย์ก็ถามแต่ละกลุ่มว่ามีปัญหาไหมแต่ละกลุ่มก็บอกว่าไม่มีปัญหา แต่อาจารย์บอกว่ามีกลุ่มหนึ่งมีสมาชิกเกินและอาจารย์ให้นักศึกษาบอกวิธีแก้ปัญหาในเรื่องนี้และก็สามารถแก้ปํญหาได้ เพราะอาจารย์บอกว่าไม่ว่าปัญหาเล็กหรือใหญ่เราไม่ควรมองข้ามมันไปต้องแก้ไขเสียก่อน ต่อมาอาจารย์ให้เขียนสมาชิกในกลุ่มตั้งชื่อกลุ่มของตัวเองและกำหนดด้วยว่าแต่คนมีหน้าที่อะไร

กลุ่มของดิฉันชื่อกลุ่ม Baby Baby มีสมาชิกดังนี้
1. นางสาวพรรณณิดา ห่อทรัพย์ ประธาน
2. นางสาวหฤทัยทิพย์ ทองศิริ รองประธาน
3. นางสาวปิยะนุช อินทร์นวน กรรมการ
4. นางสาวมุกดา ยางแก กรรมการ
5. นางสาวราฟีต้า หมายเก กรรมการ
6. นางสาวจริยา นพพันธุ์ เลขานุการ
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มตอบคำถามกลุ่มละ 4 ข้อ มีคำคำถามดั้งนี้
1. เด็กปฐมวัยคืออะไร
2. เราสามารถศึกษาความเป็นตัวเองได้จากอะไร
3. ท่านคิดว่าเด็กมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร
4. นักทฤษฎีที่รู้จักมีใครบ้างและมีแนวคิดหรือจุดเด่นอย่างไร

ต่อมาเมื่อทุกกลุ่มทำเสร็จแล้วอาจารย์ชี้ให้แต่ละกลุ่มตอบคำถามเมื่อคนในกลุ่มตอบคำถามอาจารย์ก็ถามวิธีการทำงานของสมาชิกในกลุ่มว่าปฏิบัติงานกันอย่างไรและอาจารย์ก็ติเตียนบอกวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง ในการตอบคำถามของแต่ละคนอาจารย์ก็จะเสริมข้อมูลไปให้ดังนี้
- พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนของเด็กที่สะท้อนความสามารถว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง
- มอนเตสเซอรรี่ เน้นในเรื่องของการดำเนินในชีวิตประจำวัน เรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5

- ฟรอเบล เน้นการเล่น คือ การเรียนรู้ และการใช้ชุดสื่ออุปกรณ์
- อิริคสัน เป็นนักทฤษฎีในเชิงสังคม
จากนั้นท้ายคาบอาจารย์สั่งให้นักศึกษาทุกคนหานักทฤษฎีที่สนใจมาโพสต์ใน blog ของตนเอง

งาน
นักทฤษฎีที่สนใจ

เฟรอเบล บิดาของการอนุบาลศึกษา
เฟรดริด วิลเฮม เฟรอเบล (Friendrich Wilhelm Forobel)
นักการศึกษาชาวเยอรมัน ผู้ได้รับขนานนามว่า "บิดาของการอนุบาลศึกษา"
เป็นผู้เริ่มจัดการศึกษาอนุบาลอย่างมีรูปแบบ มีการวางแผนการสอน มีการฝึกหัดครูและผลิตสื่อการเรียนการสอนเรียกว่าชุดอุปกรณ์ (Gifts) และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กอนุบาล (Occupations) เฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามรถในสิ่งดีงามมาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่นการแสดงออกอย่างอิสระเด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน กระบวนการเรียนการสอนของเฟรอเบลเน้นการเล่นอย่างมีความหมาย ครูต้องมีแบบแผนการจัดประสบการณ็ มีอุปกรณ์และการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมมีการกระตุ้นเร้าความสนใจของเด็ก การสอนที่สำคัญของครูปฐมวัย คือ ต้องมีแบบแผน สอนระเบียบเมื่อเด็กเล่นเสร็จ บรรยากาศในการเรียนเน้นความเป็นธรรมชาติโรงเรียนต้องสวยงาม ผู้ปกครองได้รับการฝึกอบรมให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างถูกต้อง



วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่1 วันที่ 17 มิถุนายน 2553

อาจารย์ได้สั่งให้นักศึกษาทำblogซึ่งเป็นแฟ้มสะสมงานในรายวิชาสื่อเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อให้นักศึกษาทุกคนได้โพสต์สาระที่ได้ในแต่ละครั้งเพื่อนำมาอ่านในครั้งต่อไปได้ อีกทั้งอาจารย์บอกในเรื่องสิ่งที่ทุกคนต้องปฏิบัติในห้องเรียน คือ

การเข้าเรียน

- เข้าเรียน 8.30 น.

- เข้า late 8.45 น.

- เข้าสาย 9.00 น.

มารยาทในห้องเรียน

- มีระเรียบวินัย

- ตรงต่อเวลา

- มีความรับผิดชอบ

- มีความตั้งใจและปราณีต

- แต่งกายถูกระเบียบ


งาน
สื่อในนิยามของตนเอง
สื่อ คือ เป็นกลวิธีหนึ่งที่จะผลิตสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น เพื่อที่จะให้ผู้คนได้รู้จักในการผลิตสื่อนั้นแล้วแต่ว่าบุคคลนั้นจะสร้างสื่อในรูปแบบใดก็ได้ แล้วแต่ความคิดของแต่ละบุคคลที่จะสื่อขึ้นมา