วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 7 วันที่ 29 กรกฎาคม 2553

อาจารย์เข้ามาสั่งให้นักศึกษาอ่านชีส เกมการศึกษา และอาจารย์ได้ออกไปทำธุระเมื่ออาจารย์กลับมาก็อธิบายเรื่อง เกมการศึกษาและสั่งงานให้นักศึกษาคิดทำเกมการศึกษาโดยมีตัวอย่างในชีสและเกมการศึกษาของแต่ละคนต้องไม่ให้ซ้ำกันมีรูปแบบเหมือนกันได้แต่เนื้อหาไม่ให้เหมือนกัน

เกมการศึกษาของดิฉันคือ จับคู่ภาพเหมือนรูปผลไม้
เป็นการเล่นให้รู้ว่าภาพที่เหมือนจะมีลักษณะ รูปร่างที่เหมือนกันและได้รู้ชนิดของผลไม้ว่ามีลักษณะแบบไหน สีอะไร เมื่อเจอของจริงก็ทำให้เด็กๆรู้จักว่านี้ผลไม้อะไร


ชื่อเกม จับคู่ภาพเหมือน



วัตถุประสงค์
- ฝึกการสังเกตภาพที่เหมือนกัน
- ฝึกการคิดวิเคราะห์
- การการใช้ประสาทสัมผัส
- ฝึกการสร้างความร่วมมือกับเพื่อน
- เรียนรู้รูปร่าง ขนาด ลักษณะ สีของสิ่งของที่กำหนดไว้

วัสดุ/อุปกรณ์
- รูปผลไม้
- กระดาษแข็ง
- ฟิวเจอร์บอร์ด

วิธีทำ
- ตัดรูปผลไม้ที่หามาให้ครบจำนวน
- ติดรูปผลไม้ในกระดาษแข็ง
- ทำบล็อกด้วยฟิวเจอร์บอร์ดเพื่อนำรูปไปติดมาเล่นเกมนี้

วิธีการเล่น
- ต้องทำให้รูปสลับสับเปลี่ยนที่กัน
- ให้เด็กหารูปที่เหมือนกันมาเข้าคู่ด้วยกัน
- เมือเด็กทำเสร็จก็ตรวจว่าถูกต้องหรือไม่
- เมื่อถูกก็ให้คะแนน















วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 6 วันที่ 22 กรกฎาคม 2553

อาจารย์ให้หาความหมายเกมการศึกษาและหาตัวอย่างของเกมการศึกษามาโพสต์ในblogของตัวเอง

=>เกมการศึกษา หมายถึง กิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดกับสิ่งที่เรียน

=>ตัวอย่างเกมการศึกษา





สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย
ความสำคัญ
- ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
- ได้รับประสบการณ์ตรงจำได้นาน
- รวดเร็ว, เพลิดเพลิน,เข้าใจง่าย
ลักษณะของสื่อที่ดี
- ต้องมีความปลอดภัย
- ประโยชน์ที่เด็กได้รับเหมาะสมกับความสามารถของเด็ก ความสนใจ
- ประหยัด
- ประสิทธิภาพ
หลักการเลือกซื้อ
- คุณภาพดี
- เด็กเข้าใจง่าย
- เลือกให้เหมาะกับสภาพของศูนย์
- เหมาะสมกับวัย
- เหมาะสมกับเวลาที่ใช้
- เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
- ถูกต้องตามเนื้อหา ทันสมัย
- เด็กได้คิดเป็นทำเป็น กล้าแสดงออก
การประเมินการใช้สื่อ
(พิจารณาจากครูผู้ใช้สื่อ เด็กและสื่อ )
- สื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้เพียงใด
- เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด


วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5 วันที่ 15 กรกฎาคม 2553

อาจารย์ให้ความหมายของสื่อและนำเสนอผลงานสื่อของตนเองที่นำมา

ชื่อสื่อ บล็อกตัวต่อ




วิธีการนำเสนอสื่อ


บล็อกตัวต่อ ขนิดนี้เหมาะสำหรับเด็กอายุประมาณ 2-6 ขวบ เป็นการพัฒนาประสาทสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็กกับตาทำให้เด็กคิดรูปแบบการสร้างบล็อกได้อย่างอิสระ และเกิดจินตนาการของตัวเขาเอง ฝึกการใช้สมาธิ มีจิตใจที่สงบ อีกทั้งฝึกการแก้ปัญหาว่าต้องทำอย่างไรให้ตัวต่อลงล็อกได้พอดี เป็นประสบการณ์โดยตรงที่เด็กได้ลงมือกระทำเพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำของจริง เพื่อเป็นประสบการณ์ที่ได้รับความเพลิดเพลินและเกิดการพัฒนาสมอง








































วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4 วันที่ 8 กรกฎาคม 2553

อาจารย์ให้นักศึกษาใส่urlลิงค์บล็อกเข้ากับอาจารย์และพูดถึงกิจกรรมปี2ของปีที่แล้วว่าทำกิจกรรมอะไรบ้างมีกจกรรมดังนี้ ปฐมนิเทศ รับน้อง บายสีสาขา เข้าค่ายคุณธรรม ไหว้ครู ดาวเดือน กีฬาเทาเหลือง ลอยกระทง จากนั้นเริ่มสู่เนื้อหา

การแบ่งประเภทของสื่อ
- ตามระดับประสบการณ์ประสบการณ์การเรียนรู้ของผ.รที่ได้รับจากสื่อ
- ตามลักษณะของสื่อและวิธีการใช้งาน

ตามแนวคิดของเอ็ดการ์ เดล (Edgar Dals)
กรวยประสบการณ์ 11 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. ประสบการณ์ตรง โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง และการเห็น เป็นต้น

2. ประสบการณ์รอง เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งทีใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้

3. ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เนื่องจากข้อจำกัดด้วยยุคสมัยเวลา และสถานที่ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม เป็นต้น

4. การสาธิต เป็นการแสดงหรือการทำเพื่อประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น

5. การศึกษานอกสถานที่ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่ การสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ เป็นต้น

6. นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้สาระประโยชน์แก่ผู้ชม โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างผสมผสานกันมากที่สุด

7. โทรทัศน์ โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน

8. ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู

9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง อาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์ ข้อมูลที่อยู่ในขั้นนี้จะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนที่ถึงแม้จะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้

10. ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่าง ๆ

11. วจนสัญลักษณ์ ได้แก่ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูด
การใช้กรวยประสบการณ์ของเดลจะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอยู่ในเหตการณ์หรือการกระทำจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตุในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้นต่อไปของการได้รับประสบ-การณ์รอง ต่อจากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ด้วยการรับประสบการณ์โดยผ่านสื่อต่างๆ และท้ายที่สุดเป็นการให้ผู้เรียนเรียนจากสัญลักษณ์ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น






ตามแนวคิดของบรูเนอร์ (Jerome S.Bruner)
- กลุ่มการกระทำ (Enactive)
- กลุ่มภาพ (Iconic)
- กลุ่มนามธรรม (Abstrace)

แนวคิดของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา
- สื่อการสอนประเภทวัสดุ (Software or Material)
- สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ (Hardware
- สื่อการสอนประเภทเทคนิค (Techniques and Methods)



สรุป หลักในการเลือกสื่อการสอน
1. เลือกซื้อสื่อที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์กาเรียนรู้
2. เลือกสื่อการสอนที่ตรงกับลักษณะของเนื้อหา ของบทเรียน
3. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
4. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับจำนวนของผู้เรียน และกิจกรรมการเรียนการสอน
5. เลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
6. เลือกสื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความสนใจ
7. เลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งาน เก็บรักษาและบำรุงรักษาได้สะด
วก


วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3 วันที่ 1 กรกฎาคม 2553

อาจารย์ตรวจดูblog และคอมเม้นต์การทำblogของนักศึกษาแต่ละคน อีกทั้งบอกประโยชนย์ของบอกว่าการทำblog เป็นแฟ้มสะสมงานที่สามารถที่ไว้ได้นานและไม่สูญหายเป็นสื่อตัวหนึ่งที่สามารถใช้เทคโนโลยีได้ การทำblogนำมาบูรณาการใช้ในวิชาสื่อเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย และอาจารย์ก็นำเข้าสู่เนื้อหาวิชา ดั้งนี้
สื่อการสอน
สื่อเป็นตัวกลางในรูปแบบต่าง
สื่อการเรียนการสอน
(กิริยา) หมายถึง ทำการติดต่อให้ถึงกันชักนำให้รู้จักกัน
(นาม) ผู้หรือสิ่งที่ทำการติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน
สื่อการศึกษา
(นาม) วิธีการ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เป็นสื่อในการศึกษา
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆที่อาจป็นวัสดุ เครื่องมือ หรือกิจกรรมที่ครูเลือกมาและวางแผนใช้รวมเข้าไปในเนื้อหาของหลักสูตรวิชาต่างๆ อย่างเหมาะสมกับความต้องการ ระดับชั้น สติปัญญาและความสามารถของนักเรียนเพื่อกระบวนการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ชม ภูมิภาค (2545:5)
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆที่เป็นส่วนของเทคโนโลยีการศึกษาเป็นพาหะที่จะนำสารหรือความรู้ไปยังผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์เป็นสื่อการสอน เพราะวิดีทัศน์เป็นตัวนำสารไปให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา เช่น วัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆที่ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกัน
คุณค่าสื่อการเรียนการสอน
สื่อกับผู้เรียน
- ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้เร็วขึ้น
- ช่วยให้สนใจบทเรียนและใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ได้
- ทำให้เข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อน ได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้นและเกิดความคิดรวบยอดในเรืองนั้นได้ถูกต้อง
- ให้ประสบการณ์รูปธรรมแก่ผูเรียนและเกิดความประทับใจ จดจำได้นาน
- ช่วยในการศึกษาค้นคว้าหาควารู้ สามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับสิ่งใหม่ได้ต่อเนื่องกัน
- ส่งเสริมการคิด การแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์
- ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น
- ผู้เรียนจะมีความเข้าใจในเนื้อหาได้ตรงกัน
- ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน
- ช่วยลดการบรรยายของครูผู้สอน
- ผู้สอนมีความตื่นตัวในการผลิตสื่อต่างๆให้น่าสนใจยิ่งขึ้น
หลักการเลือกสื่อการสอน
1. สื่อต้องสัมพันธ์กับมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
มาตรฐาน คือ เกณฑ์ที่ได้วางไว้
2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ
3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ผู้เรียน
4. สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากเกินไป
5. ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและจริง
6. มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน
ขั้นตอนในการใช้สื่อ
1. ชั้นนำเข้าสู่บทเรียน เช่น เพลง รูปภาพ การใช้คำถาม นิทาน เกมส์ ปริศนาคำทาย คำคล้องจอง
2. ขั้นดำเนินการสอน หรือ ประกอบกิจกรรมการเรียน
3. ขั้นวิเคราะและปฏิบัติ
4. ขั้นสรุปบทเรียน
5. ขั้นประเมินผู้เรียน
หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน
1. เตรียมตัวผู้สอน
2. เตียมจัดสภาพแวดล้อม
3. เตรียมพร้อมผู้เรียน
4. การใช้สื่อ
5. ติดตามผล
หลักการใช้สื่อการเรียนและการวางแผนใช้สื่อการการสอน
การดัดแปลงหรือออกแบบสื่อ (Select,Modify,or design Mate)
- เลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว
การใช้สื่อ (Utilize Materials)
- ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อเหล่านั้นก่อนเป็นการเตรียมตัว
- จัดเตรียมสถานที่ ที่นั่งเรียน อุปกรณ์ เครื่องมือและสิ่งต่างๆ
- เตรียมตัวผู้เรียน โดยการใช้สื่อนำเข้าสู่บทเรียน
- ควบคุมชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนใจในสื่อที่นำเสนอนั้น
การเลือกสื่อการเรียนรู้
- สื่อต้องเหมาะสมกับวัยผู้เรียน
- สื่อสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาที่สอน
-ความเป็นไปได้ในการหาและค่าใช้จ่าย
-ความสะดวกในการนำไปใช้